การเช็ครั่วของช่างแอร์ที่ปลอดภัย ควรใช้ก๊าซไนโตรเจน N2 และ ไม่ควรใช้ก๊าซออกซิเจนO2 ในการเช็ครั่ว

5545 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อบรมแอร์ แอร์ไดกิ้น เกจ์ไนโตร1450PSI เกจ์ไนโตรเจน  สายไนโตรเจน

    การเช็ครั่วของช่างแอร์ที่ปลอดภัย ควรใช้ก๊าซไนโตรเจน N2 และ ไม่ควรใช้ก๊าซออกซิเจนO2 ในการเช็ครั่ว


     รู้หรือไม่!!ก๊าซออกซิเจนไม่ใช่แค่ลมที่พูดติดปากกันหากใช้อัดหารอยรั่ว ในระบบเครื่องทำความเย็น จะเกิดการสันดาป(ทำปฏิกิริยา) และ ระเบิดในที่สุด คือความครบองค์ประกอบที่ทำให้เกิดประกายไฟ

                                                                                ความร้อน + เชื้อเพลิง + ออกซิเจน = ระเบิดในระบบ 

                    การตัดองค์ประกอบของไฟ = ตัดออกซิเจนออกจากองค์ประกอบและนำไนโตรเจนเข้าไปแทนออกซิเจนเพื่อไม่ให้ไฟสามารถติดได้ 
ในศาสตร์ทางความเย็นไนโตรเจนคือก๊าซเฉื่อยมีความปลอดภัยในการทำระบบเครื่องเย็นจึงมีการกำหนดให้ใช้ก๊าซไนโตรเจนเท่านั้นในการอัดหารอยรั่ว หรือใช้ในการล้างระบบร่วมกับน้ำยา HCFC-141b เท่านั้น ส่วนน้ำยา F-11 จะถูกยกเลิกใช้ในปี ค.ศ.2024 เนื่องจากมีสารประกอบที่ทำให้ก่อให้เกิดมะเร็ง
HCFC-141b หรือ F-9000 น้ำยาจำพวกนี้จะไม่มีสีไม่มีกลิ่น แห้งเร็วไม่ทำให้เครื่องชื้น และไม่มีสารประกอบที่ทำให้ก่อมะเร็งในระยะยาว ส่วนF-11 มีกลิ่นฉุน หากโดนผิวหนังจะเกิดการระคายเคือง เช่น มีอาการแสบที่ผิวหนัง และมีสารประกอบที่ก่อให้เกิดมะเร็งในระยะยาว


     หากความเข้มข้นของก๊าซออกซิเจนมีความบริสุทธิ์สูง เมื่อเจอกับเชื้อเพลิงจะสามารถลุกติดไฟได้เองโดยไม่ต้องมีความร้อน และ ทำให้เกิดการระเบิด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแรงดันด้วย เมื่ออัดก๊าซออกซิเจนเข้าไป จะเกิดความดันที่สูงขึ้นทำให้โมเลกุลก๊าซชนกันถี่ขึ้น โอกาสที่จะมีโมเลกุลที่มีพลังงานจุลน์สูงกว่าค่า Ea จนเกิดการสลายพันธะ O2 และ Fuel จนเกิดการจุดระเบิดขึ้นมาเองได้การใช้ถังออกซิเจนโดยไม่มีเกจ์ปรับแรงดัน แรงดันตรง 2,000 PCS ระเบิดได้ทุกอย่างแม้ในคอมแอร์ไม่มีน้ำมันอยู่เลย ก็สามารถเกิดการระเบิดได้

อุปกรณ์ที่ควรใช้ในงานเช็ครั่ว มีดังนี้

     1. ถังไนโตรเจน     2. เกจ์ปรับแรงดัน     3. เกจ์ปรับน้ำยา     4. น้ำยาล้างจาน      5. ฟองน้ำหรือแปรงทาสี

                                                         

วิธีการใช้ถังไนโตรเจนในงานเช็ครั่ว
     เปิดวาล์วถังไนโตรเจน จะพบว่ามีแรงกันอยู่ในถังกี่PSI ปรับเกจ์ปรับแรงดันไว้ที่ 100 PSI และ ค่อยๆ เปิด-ปิดวาล์วเกจ์ปรับน้ำยาแอร์ทีละนิดๆ จนครบ 100 PSI จากนั้นใช้ฟองน้ำหรือแปรงทาสีทาน้ำยาล้างจานตรงจุดที่ต้องการเช็ครอยรั่ว ถ้ามีฟองอากาศตรงจุดที่ทาน้ำยาล้างจานไว้แสดงว่าจุดนั้นมีการรั่ว หากยังไม่พบจุดรั่ว จะต้องปรับเกจ์ปรับแรงดันให้เพิ่มขึ้นครั้งละ 100 PSI และค่อยๆปรับเกจ์น้ำยาแอร์ตามแรงดันที่ปรับไว้ทีละนิดๆเปิด-ปิดจนครบตามแรงดันที่ปรับเกจ์ปรับแรงดันไว้(การปรับเกจ์ปรับแรงดันเพิ่มขึ้นครั้งละ100PSIมีข้อดีคือทำให้ประหยัดไนโตรเจนและแรงดันไม่มากจนเกินไป) เมื่อพบจุดรั่วแล้วให้ทำการปล่อยไนโตรเจนออกเพื่อทำการซ่อมจุดรั่ว หลังจากซ่อมเสร็จทำการแวคคั่มทำระบบใหม่เติมน้ำยาเข้าไปและรันเครื่องให้ทำงานได้ตามปกติ

     การใช้ในโตรเจนหารอยรั่วของเครื่องปรับอากาศหรือแอร์ ควรมีเกจ์ปรับแรงดันเพื่อปรับแรงดันให้เหมาะสมกับอุปกรณ์และน้ำยาที่เลือกใช้ เพราะอุปกรณ์และน้ำยาบางชนิดรองรับแรงดันน้ำยาได้ต่างกัน ตัวอย่างเช่น น้ำยา R22 สามารถรับแรงดันได้ 404 PSI น้ำยา R32/401A สามารถรับแรงดันได้ 680 PSI ดังนั้นจึงต้องมี การใช้เกจ์ปรับแรงดัน เพื่อปรับแรงดันให้เหมาะกับการตรวจสอบ เพื่อไม่ให้เกิดการเสียหายต่ออุปกรณ์และไม่ทำให้คอมเฟสเซอร์เกิดการระเบิดเนื่องจากแรงดันมากเกินไป ในตัวถังไนโตรเจนจะมีแรงดันประมาณ 2,000-2,500 PSI ซึ่งมีแรงดันสูงกว่าที่เครื่องปรับอากาศรับได้ ดังนั้นการใช้ถังไนโตรเจน ต้องใช้เกจ์ปรับแรงดันควบคู่กัน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ จึงอยากแนะนำเพื่อนๆช่างแอร์ให้เลือกใช้อุปกรณ์ในการเช็ครั่ว ให้ถูกต้องและถูกวิธีตรวจเช็คความพร้อมอุปกรณ์ก่อนใช้งานทุกครั้งก่อนเริ่มใช้งาน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของช่างและผู้ใช้งานทุกท่าน

                                             ทางบริษัทโชครัตนกุลอิมปอร์ตจึงอยากรณรงค์ ให้เพื่อนๆช่างแอร์และผู้ใช้งานทุกท่าน 

                          ใช้ก๊าซไนโตรเจน N2 ในการเช็ครั่ว และ เลิกใช้ก๊าซออกซิเจนO2 เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุแก่ทุกท่าน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้